ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

Homepage
จันทรุปราคา



จันทรุปราคา (Lunar Eclipse) เกิดจากปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน โดยโลกจะอยู่ในตำแหน่งกลางระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ โดยดวงจันทร์จะโคจรเข้าไปอยู่ในเงาของโลก ซึ่งเงาของโลกที่เกิดขึ้นมีทั้ง "เงามืด" คือส่วนที่มืดที่สุด เนื่องจากโลกบดบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น และ "เงามัว" คือส่วนที่ไม่ได้มืดสนิท เพราะโลกบดบังแค่ดวงอาทิตย์บางส่วน

          ทั้งนี้ การที่เงาของโลกที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน ก็ทำให้ดวงจันทร์ซึ่งโคจรเข้าไปในบริเวณเงาของโลกที่ต่างกัน เกิดเป็นจันทรุปราคาที่มีลักษณะต่างกันไปด้วยนะคะ อย่างที่นักดาราศาสตร์ได้แบ่งการเกิดจันทรุปราคาออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

          1. จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) คือการที่ดวงจันทร์ทั้งดวงค่อย ๆ โคจรหลบไปในเงามืดของโลกทีละนิด ๆ กระทั่งดวงจันทร์โคจรเข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่สำคัญในช่วงที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เราจะได้เห็นพระจันทร์สีเลือดอีกด้วย

          2. จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) จะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์บางส่วนโคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก จุดนี้เราจะได้เห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง 

          3. จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) คือปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามัวของโลกโดยไม่ผ่านส่วนของเงามืดเลย ทำให้ยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดลง ซึ่งค่อนข้างสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ยาก

          จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ทุกเดือน เพราะการจะเกิดจันทรุปราคาได้ ก็ต้องเป็นคืนที่ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ โคจรอยู่ในระนาบเดียว และดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง หรือต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมากจึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือบางส่วนได้ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดจันทรุปราคาในแต่ละปีนั้นจะมีอยู่เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น
อ้างอิง https://hilight.kapook.com/view/167402

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น